ยินดีต้อนรับสู่บล็อกภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกคนด้วยความยินดียิ่ง

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิศาสตร์ภาคเหนือ

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคเหนือ
ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคเหนือ
      ภาคเหนือมีเนื้อที่ประมาณ 93,691 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ 

 
ที่ตั้งและขอบเขตภาคเหนือ
     ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและลาว มีเทือกเขาแดนลาว แม่น้ำสายและแม่น้ำรวกกั้นเขตแดน 

ท่าขี้เหล็ก (เหนือสุดในสยาม) อ.แม่สาย จ.เชียงราย    
 ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว มีเทือกเขาหลวงพระบางกั้นเขตแดน
     ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคืออำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า มีแม่น้ำเมยและแม่น้ำสาละวินกั้นเขตแดน
     ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ทางตอนใต้สุดของภาคคือ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์


ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ
     1. เขตทิวเขา ประกอบด้วย
           - ทิวเขาแดนลาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า
           - ทิวเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า มียอดเขาที่สูงสุดของประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์สูง 2,565 เมตร


           - ทิวเขาผีปันน้ำ ประกอบด้วยทิวเขาจอมทอง ขุนตาล ที่ปันน้ำลง 2 ทาง คือ แม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยา
             โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้
           - ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับลาว
     2. เขตที่ราบหุบเขา มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาและหุบเขา มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินอุดมสมบูรณ์
     3. เขตแอ่งที่ราบ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญของชุมชนทางภาคเหนือ
แม่น้ำสำคัญของภาคเหนือ
     1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำรวก แม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง
    2. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน
    3. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม แม่น้ำปาย 

 


  สบรวก - สามเหลี่ยมทองคำ
       ตรงจุดบรรจบของลำน้ำรวกและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำรวกจากพม่าไหลลงสู่แม่น้ำโขง ก่อนแม่น้ำทั้งสองจะบรรจบกัน ลำน้ำได้ขนาบแผ่นดินของประเทศพม่าให้แคบลงๆ จนกลายเป็นแหลมเล็กๆ บริเวณนี้จึงเป็นจุดที่แผ่นดินของสามประเทศมาพบกัน คือ ไทย พม่า และลาว เรียกชื่อกันว่าสบรวก เป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีอากาศดีเพราะเป็นที่โล่งกว้างสามารถมองเห็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก ซึ่งมีสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน
 
ลักษณะภูมิอากาศของภาคเหนือ
     ภูมิอากาศของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแบบสะวันนา (Aw) คือ อากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง
อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีอยู่ระหว่าง 24 -27 องศาเซลเซียส มีฤดู 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (พ.ค.- ต.ค.) ฤดูหนาว (ต.ค. - ก.พ.)ฤดูร้อน (ก.พ. - พ.ค.) จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ เชียงราย จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุตรดิตถ์ จังหวัดที่มีสถิติฝนตกหนักคือ เชียงราย และมีสถิติฝนตกน้อยที่สุดคือ ลำปาง
     ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิในภาคเหนือ
         1. ละติจูด ตั้งอยู่ในละติจูดสูง สภาพอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น
         2. ความสูงของพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีเทือกเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นมากโดยเฉพาะในฤดูหนาว
         3. ระยะไกลจากทะเล ตั้งอยู่ไกลจากทะเล ทำให้ร้อนอบอ้าวและมีฝนตกน้อยในฤดูร้อน
         4. ทิศทางลมประจำ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกมาก และรับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนทำให้มีอากาศหนาวเย็น


ทรัพยากรธรรมชาติในภาคเหนือ
     1. ทรัพยากรดิน จะมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง มีความลาดชันมากและมีการตัดไม้ทำลายป่า จึงก่อให้เกิดการชะล้างและพังทลายหน้าดินได้ง่าย
ดินที่พบตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ คือ ดินอัลลูเวียนเหมาะในการทำนา และดินลานตะพักลำน้ำ เหมาะในการปลูกพืชไร่
     2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำในภาคเหนือเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ประกอบด้วยหลายสาย
และมีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ กว๊านพะเยา และมีการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดเล็กจำนวนมากและใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น 




เขื่อนสิริกิตต์   
กั้นแม่น้ำน่าน เขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์



เขื่อนกิ่วลม   กั้นแม่น้ำวัง อยู่ในจังหวัดลำปาง   
เขื่อนแก่งเสือเต้น 
    อยู่จังหวัดแพร่ และ
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล    อยู่จังหวัด เชียงใหม่
      3. ทรัพยากรป่าไม้ ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ป่าสนเขาและป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้มากที่สุดคือ เชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้น้อยที่สุดคือ ลำพูน
      4. ทรัพยากรแร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญของภาคเหนือมีหลายชนิด เนื่องจากโครงสร้างของหินเป็นหินยุคเก่า แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่
- แร่ดีบุก พบมากที่จังหวัดเชียงใหม่
- แร่ทังสเตนหรือวุลแฟรม พบมากที่จังหวัดเชียงราย
- แร่แมงกานีส พบมากที่จังหวัดลำพูน เชียงราย เชียงใหม่
- แร่ฟลูออไรต์ พบมากที่ลำพูน
- ดินขาว พบมากที่จังหวัดลำปาง
- แร่รัตนชาติ พบมากที่จังหวัดแพร่
- ปิโตรเลียม พบมากที่เชียงใหม่
- หินน้ำมัน พบมากที่ลำพูน
- ถ่านหิน พบมากที่ลำปาง ลำพูน 


 ถ่านหิน เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง

ประชากรในภาคเหนือ
     ประชากรในภาคเหนือมีมากเป็นอันดับ 4 รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดคือ เชียงใหม่ จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ จังหวัดลำพูน และมีประชากรเบาบางที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
      ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ กระเหรียง ซึ่งมีมากที่สุด ม้ง ลีซอ มูเซอร์ และเย้า 


กะเหรี่ยง
มูเซอร์
 ลีซอ
เย้า
ปัญหาของประชากรในภาคเหนือ
1. ปัญหาความยากจน
2. ปัญหาการขาดการศึกษา
3. ปัญหายาเสพติด
4. ปัญหาโสเภณี


กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคเหนือ
1. เกษตรกรรม กิจกรรมที่ทำรายได้ต่อประชากรในภาคเหนือ ได้แก่ การทำสวน ทำไร่ ทำนา และเลี้ยงสัตว์
พืชผลที่สำคัญได้แก่ ข้าว ยาสูบ    กระเทียม ถั่วเหลือง เป็นต้น

ไร่สตรอเบอร์รี่

2. อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือนนิยมทำกันมากสุด เช่น ทำร่มกระดาษ แกะสลักไม้ จักสาน เครื่องปั้นดินเผา
เครื่องเคลือบ ทอผ้า 

หัตถกรรม ร่มบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
3. อุตสาหกรรมโรงงาน เป็นโรงงานที่ผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบทางการเกษตรภายในท้องถิ่น เช่น โรงงานยาสูบ
โรงงานอาหารสำเร็จรูป
4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเนื่องจากมีภูมิประเทศสวยงาม อากาศดี มีวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีและอนุรักษ์ไว้


ปัญหาของสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือ
1. การตัดไม้ทำลายป่า
2. การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
3. การชะล้างพังทลายของดิน

แพะเมืองผี เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ
 สรุปประเด็นสำคัญ
1. อำเภอที่มีดินแดนอยู่เหนือสุดทางภาคเหนือของประเทศไทย คือ อำเภอแม่สาย
2. แอ่งที่ราบที่ยาวและกว้างที่สุดทางภาคเหนือของไทย คือ แอ่งลำปาง
3. ลุ่มแม่น้ำรวกในภาคเหนือไหลลงสู่แม่น้ำโขง
4. แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยกับเทือกเขาผีปันน้ำตะวันตก
5. ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแดนลาว คือ ดอยผ้าห่มปก
6. ยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคเหนือของไทย คือ ยอดดอยอินทนน อยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย
7. เทือกเขาที่กั้นเขตแดนไทยกับประเทศพม่า คือ เทือกเขาแดนลาว และ เทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก
8. จุดที่แม่น้ำรวกไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง เราเรียกว่า สบรวก ซึ่งเป็นจุดร่วมพรมแดน ไทย พม่า ลาว
9. แม่น้ำโขง กั้น ไทย กับ ลาว แม่น้ำรวก กั้น ไทย กับ พม่า
10. แม่น้ำน่าน นี่แรด-มาก ผ่านที่ราบหลายจังหวัดทั้ง น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร
 แม่น้ำน่าน

11. แม่น้ำที่แบ่งว่า นี่ไทยนะ นี่พม่า นะ คือ แม่น้ำเมย นั่นเอง
12. มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง คือ แม่น้ำรวก แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำสาย เป็นต้น
13. หินแกรนิต จัดอยู่ในหินอัคนี  ภูเขาส่วนใหญ่ของภาคเหนือเป็นหินแกรนิตนะจ๊ะ - - - จำไว้
14. แต่ก็มีนะที่เป็นภูเขาหินทราย เช่น เทือกเขาผีปันน้ำ นี่เป็นหินทราย
15.  แอ่งสลุง รู้จักมั้ย มันคือ ภูเขาในภาคเหนือที่เป็นหินปูนอ่ะ จะมีถ้ำ ที่เราเห็นๆอ่ะ คือจามี พวก
หินงอก หินย้อย น่านแหละเราเรียกว่า ถ้ำหินปูน พื้นที่บางแห่งหลังคาถ้ำจะยุบตัวลงมา กลายเป็น
หลุมยุบ  แต่คนภาคเหนือจะเรียกว่า แอ่งสลุง
หลุมยุบ
16. สามเลี่ยมทองคำ คือพื้นที่ที่เป็นจุดพบกันของ 3 ประเทศ คือ ไทย  ลาว  พม่า
17. ถ้าเราดูตามที่ตั้งของละติจูด ภาคเหนืออยู่ในเขตภูมิอากาศอบอุ่นนะ ไม่ใช่ หนาว อย่าเข้าใจผิด
18. จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด = หนาว สุดๆ ของภาคเหนือ คือ เชียงราย เหนือสุด หนาวสุด จำไว้
19. ภาคเหนือเนี่ย กลางวัน ก็ร้อน กลางคืน ก็หนาว เพราะห่างไกลจากทะเล งัย
20. จังหวัดในภาคเหนือ ที่มีฝนตกน้อย ที่สุดเลยยยยย ก็คือ ลำพูน
21. ประชากรในภาคเหนือตั้งถิ่นฐานหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ  
22. ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือเนี่ย จะเป็นลักษณะของ เทือกเขาสูงๆสลับกับที่ราบหุบเขาแคบๆ
ซึ่งบริเวณที่ราบนั้นจะมีแม่น้ำไหลผ่าน
23. ภาคเหนือ จะมีป่าเบญจพรรณมากที่สุด  ซึ่งมีไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้สัก แต่เด๋วนี้ไม่ค่อยมีแระ
24. หินไนส์ เป็นหินแข็งๆที่แปรรูปมาจากหินแกรนิต พบมาก ตรงเทือกเขาแดนลาว ถนนธงชัย
25. ลุ่มแม่น้ำปิง นี่เป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของภาคเหนือ อุดมสมบูรณ์สุดๆๆ

แม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ 

แบบทดสอบ
ตอนที่ 1
1. ภาคเหนือมีทั้งหมด....................จังหวัด
2. ดอยอินทนนท์ อยู่บนเทือกเขา..................................
3. เทือกเขาแดนลาวกั้นพรมแดนระหว่าง ไทยกับ..............
4. แม่น้ำใดบ้างในภาคเหนือที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน........................................................
5. สบรวก  คือ.............................................................
6. กว๊านพะเยา คือ..............................................
7. จังหวัดในภาคเหนือที่มีพท้นที่ป่ามากที่สุด คือ............................
8. ชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุดในภาคเหนือ คือ.................................
9. แพะเมืองผี คือ...............................................................................
10. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบในภาคเหนือ มีอะไรบ้าง.........................................


1. ลักษณะภูมิประเทศใดของภาคเหนือจำแนกได้ 3 เขต โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เกีอบทั้งภาค
เขตภูเขาและเทือกเขา
เขตที่ราบและหุบเขา
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ
เขตแอ่งที่ราบ
2. เขตที่ราบและหุบเขาของภาคเหนือ คือ บริเวณที่ราบแคบๆ ซึ่งอยู่ระหว่างขนานของเทือกเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีความสำคัญข้อใดมากที่สุด
เป็นที่ราบดินตะกอน
มีผู้คนตั้งถิ่นฐานหนาแน่น
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์สวยงาม
เป็นแหล่งเพาะปลูกที่มีดินอุดมสมบูรณ์

3. ในเขตภูเขาหินปูนของภาคเหนือ จะพบหลังคาถ้ำยุบตัวลงกลายเป็นแอ่งบนพื้นดิน เรียกว่าอย่างไร
แพะเมืองผี
ฮ่อมจ๊อม
แอ่งสลุง
สันปันน้ำ

4. เทือกเขาของภาคเหนือที่วางตัวเป็นขอบกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่าและไทยกับลาว คือเทือกเขาข้อใด
ถนนธงชัย / แดนลาว
แดนลาว / หลวงพระบาง
ถนนธงชัย / ผีปันน้ำ
ตะนาวศรี / หลวงพระบาง

5. เขตภูมิประเทศที่เป็นแหล่งที่ราบของภาคเหนือ มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำล้อมรอบด้วยภูเขามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ภาคเหนือหลายประการ ยกเว้น ข้อใด ไม่ใช่
มีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อันกว้างใหญ่
เป็นที่ราบดินตะกอนอุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด
เป็นที่ตั้งชุมชนระดับอำเภอหรือจังหวัด

6. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของภาคเหนือ
เป็นหินเปลือกโลกมีอายุน้อย
มีชั้นหินเปลือกโลกสลับซับซ้อน
เกิดการบีบอัดยกตัวขี้นสูงจนเป็นปลือกเขา
มีการทรุดตัวเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่

7. ลักษณะภูมิประเทศแปลกตาที่เรียกว่า "ฮ่อมจ๊อม" เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือเกิดจากการ การกระทำของตัวการทางธรรมชาติข้อใด
การกัดเซาะของฝนและลำธาร
การทรุดตัวของผนังถ้ำหินทราย
การทับถมของตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา
การปริแตกจากแสงแดดและอุณหภูมิความร้อน

8. เขตภูมิลักษณ์ของภาคเหนือใด เป็นแหล่งถ่านหินลิกไนต์ที่สำคัญของประเทศไทย
ดอยขุนตาล จังหวัดลำปาง
แอ่งแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
แอ่งพะเยา จังหวัดพะเยา
แอ่งแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

9. โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเขตภูมิลักษณ์ืั่เป็นแหล่งที่ราบ มีกระบวนการเกิดข้อใด เป็นขั้นตอนสุดท้าย
การเคลื่อนไหวบีบอัดของเปลือกโลก
การทรุดตัวของเปลือกโลก
การกัดเซาะของธารน้ำแข็ง
การทับถมของโคลนตะกอน

10. เทือกเขาส่วนใหญ่ของภาคหนือวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีผลอย่างไรต่อลักษณะภูมิอากาศของภาคเหนือ
ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนและหนาวเย็นในฤดูหนาว
ขวางกั้นทิศทางลมมรสุมฤดูฝนทำให้ได้รับฝนน้อย
ไม่ขวางกั้นทิศทางลมมรสุมและมวลอากาศที่พัดผ่าน
ได้รับอิทธิพลความชื้นจากทะเลทำให้ฤดูร้อนมีอากาศเย็นสบาย


Score =
Correct answers:

2 ความคิดเห็น:

  1. ชุดที่ว่ากะเหรี่ยงใส่อยู่นั้น ไม่ใช่นะครับ เป็นชาติพันธุ์อาข่าครับ

    ตอบลบ