ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคกลาง
ภาคกลางมีพื้นที่ประมาณ 92,795 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 22 จังหวัด แบ่งออกเป็น
--ภาคกลางตอนบน มี 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี
--ภาคกลางตอนล่าง มี 15 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ
ที่ตั้งและขอบเขตภาคกลาง
ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ จังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาค คือ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ จังหวัดกำแพงเพชร
ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค คือ จังหวัดสมุทรสงคราม
ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง
เขตที่ราบ
- เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)
- เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา
- เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป
แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง
1. แม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ และมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี) แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน)
2. แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี
คลองที่สำคัญในภาคกลาง
1. คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก
2. คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี
3. คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลองบางกอกน้อย
4. คลองแสนแสบ,คลองพระโขนง และคลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง
5. คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง
***ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ บึงบอระเพ็ด อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ และบึงสีไพ จังหวัดพิจิตร
ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลาง
ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน
ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคกลาง
1. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นำความชุ่มชื้นมาสู่ภาคกลาง
2. มีการวางตัวของแนวภูเขาตะนาวศรี และภูเขาถนนธงชัยในลักษณะเหนือ-ใต้ ทำให้ส่วนที่เป็นหลังเขามีฝนตกน้อย
3. ความใกล้ไกลทะเลทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว
-ภาคกลางมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส ซึ่งอากาศค่อนข้างร้อน
-ปริมาณน้ำฝนของภาคเฉลี่ยประมาณ 1,375 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอับฝน
-ฝนตกมากสุดในเดือนกันยายน จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีปริมาณฝนน้อยที่สุดคือ นครสวรรค์
ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง
1. ทรัพยากรดิน
ภาคกลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วงฤดูแล้ง ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน ดินเหนียวลพบุรี ดินเหนียวองครักษ์ ดินร่วนกำแพงแสน และดินเหนียวดำกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามารวมกันเป็นที่ราบขนาดใหญ่ของภาคกลาง ส่วนดินบริเวณที่ราบเนินภูเขาจะ เกิดจากการสลายตัวของหินปูนและหินอัคนี เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ขนุน เป็นต้น
2. ทรัพยากรน้ำ
ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และมีการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี
3. ทรัพยากรป่าไม้
ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้งส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซัม หินอ่อน ดินมาร์ล หินปูน แร่เชื่อเพลิง พบ**น้ำมันดิบที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
ประชากรในภาคกลาง
ภาคกลางมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
*กรุงเทพฯเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดและหนาแน่นมากที่สุด
*จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดอุทัยธานีจะมีความหนาแน่นของประชากรเบาบางที่สุด
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคกลาง
1. การเพาะปลูก ประชากรในภาคกลางมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก เพราะอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์และเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ส่วนการปลูกพืชไร่จะปลูกบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม
2. การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น สุกร เป็ด ไก่
3. การประมง มีการทำประมงน้ำจืดมากที่สุด ส่วนประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อยจะอยู่บริเวณจังหวัดที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล
4. อุตสาหกรรม เป็นภาคที่มีการทำอุตสาหกรรมมากที่สุด เช่น อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ประกอบรถยนต์ โรงงานปูนซิเมนต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล
5. การค้าและบริการ เป็นอาชีพที่มีมากที่สุด มีทั้งการค้าภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการบริการด้านต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว การธนาคาร การแพทย์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น