ยินดีต้อนรับสู่บล็อกภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกคนด้วยความยินดียิ่ง

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เขตภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร เป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างมากที่สุด
ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ บึงกาฬ


แผนที่ เพิ่มจังหวัดบึงกาฬ

ที่ตั้งและขอบเขตของภาค
      ทิศเหนือ   ติดกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ จังหวัดบึงกาฬ มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
      ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ 


      ทิศตะวันตก   ติดต่อภาคกลาง ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็นเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน
      ทิศใต้   ติดต่อกับประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออก ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีภูเขาพนมดงรักและสันกำแพงเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน

ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค ทำให้มีความลาดเอียงไปทางตะวันออก มีลักษณะคล้ายกะทะ แบ่งเป็น 2 เขตใหญ่ ได้แก่


  1. บริเวณแอ่งที่ราบ 

 
      - แอ่งที่ราบโคราช เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและชี ลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเขา
      - แอ่งสกลนคร อยู่ทางตอนเหนือของภาคตั้งแต่แนวเขาภูพานไปจนถึงแม่น้ำโขง มีแม่น้ำสงครามและห้วยน้ำก่ำไหลผ่าน
   2. บริเวณเขตภูเขา
      - ภูเขาทางด้านตะวันตกของภาค วางตัวแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ภูเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาดงพญาเย็น 

เทือกเขาเพชรบูรณ์

      - ภูเขาทางตอนใต้ของภาค ได้แก่ ภูเขาสันกำแพง ภูเขาพนมดงรัก 

เทือกเขาพนมดงรัก
      - ภูเขาที่แบ่งระหว่างแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ได้แก่ทิวเขาภูพาน 



เทือกเขาภูพาน
แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   1. แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสานตอนล่าง ต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกำแพง แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี 


แม่น้ำมูล ที่ จ.อุบลราชธานี
   2. แม่น้ำชี มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตร ***เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย **มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี 
 แม่น้ำชี

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
     
ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือ  มีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกปานกลาง
- ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่จังหวัดเลย
- ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจากพายุดีเปรสชัน จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือ นครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ นครราชสีมา
- ฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่ มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุดรธานี

ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    1. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผลทำให้มีอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น ๆ
    2. ลมพายุหมุน ส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้จังทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง
    3. ระยะใกล้ไกลทะเล จะทำให้อากาศมีความแตกต่างกันระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมาก เนื่องจากไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล
    4. การวางตัวของภูเขาดงพญาเย็นและสันกำแพง ซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้กั้นลมฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา 


 2. ทรัพยากรน้ำ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ
เขื่อนสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
- เขื่อนสิรินธร อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี
- เขื่อนจุฬาภรณ์ อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ
- เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ในจังหวัดขอนแก่น
- เขื่อนลำปาว อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์
- เขื่อนลำตะคอง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
- เขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนสิรินธร กั้นแม่น้ำลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี

3. ทรัพยากรป่าไม้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้เหลือน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้ประเภทป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง ถัดมาเป็นป่าเบญจพรรณและป่าทุ่ง เมื่อเทียบกับพื้นที่ภาคจังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ อุบลราชธานี และจังหวัดที่มีป่าไม้น้อยที่สุดคือ มหาสารคาม
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแร่ธาตุน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ แต่เป็นภาคที่มีเกลือหินมากที่สุด แร่ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่
- เหล็ก พบที่จังหวัดเลย
- แมงกานีส พบที่จังหวัดเลย
- ทองแดง พบที่จังหวัดเลย และหนองคาย
- เกลือหิน พบมากที่สุดที่จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี และยโสธร
- โปแตช พบที่จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี
- ยิปซัม พบที่จังหวัดเลย
- ก๊าซธรรมชาติพบที่น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น


ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       **ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศ**
จังหวัดที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคน ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สกลนคร จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ มุกดาหาร ส่วนจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดคือ มหาสารคาม และมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือจังหวัดเลย

ปัญหาประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. ปัญหาความยากจน เนื่องจากประชากรมีมาตรฐานการครองชีพต่ำมาก ทรัพยากรไม่อุดมสมบูรณ์
2. ปัญหาการอพยพย้ายถิ่น
3. เกิดการว่างงานสูง


กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
1. การเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เนื่องจากดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกข้าว พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปอ ฝ้าย
2. การเลี้ยงสัตว์ เป็นภาคที่มีการเลี้ยงโค กระบือมากที่สุด เพราะมีอากาศและทุ่งหญ้าที่อุดมสมบูรณ์
3. อุตสาหกรรม ในภาคนี้มีอุตสาหกรรมที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น โรงสี โรงงานน้ำตาล โรงทอ ฯลฯ    และยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
4. เกลือสินเธาว์ มีแหล่งผลิตอยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา


ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. เกิดปัญหาดินเค็ม ขาดความอุดมสมบูรณ์
2. ขาดแคลนน้ำมากที่สุด เนื่องจากดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ
3. การบุกรุกป่าไม้ของประชากรเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูก หรือเพื่อการค้า 


แบบทดสอบ
 ตอนที่ 1
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทั้งหมด................จังหวัด   จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดคือ..........................
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแอ่งที่ราบอยู่ 2 แอ่ง คือ..........................................................
ลุ่มแม่น้ำชีและลุ่มแม่น้ำมูลอยู่แอ่งที่ราบ.......................................
3.ในช่วงฤดูหนาวจังหวัดที่หนาวเย็นมีอุณหภูมิต่ำสุดคือจังหวัด.............................................
4.ป่าไม้ที่พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตือป่า..............................................
5.ทรัพยากรแร่ชนิดที่พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตือ
6.เทือกเขาที่เป็นพรมแดนระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ.......................
7. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เป็นเพราะ.................................................................................................
แบบทดสอบความรู้ออนไลน์

ตอนที่ 2
1. โครง สร้างทางธรณีวิทยาของภาคตะวันออกเฉียงหนือเป็น "หมู่หินโคราช" ซึ่งองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหินประเภทใด และมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคนี้อย่างไร
หินทราย / ดินร่วนปนทราย
หินปูน / ดินตะกอนน้ำพา
หินเกลือ / ดินเป็นกรด
หินดินดาน / ดินเค็ม
2. เขตภูมิลักษณ์ที่เป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือข้อใด
แอ่งสกลนคร
แอ่งโคราช
ที่ราบสูงโคราช
แอ่งลำปาว

3. ข้อใด เป็นลักษณะภูมิประเทศบริเวณแอ่งโคราชที่เรียกว่า "ทะเลสาปรูปแอก" หรือบึงโค้งซึ่งเกิดจาก แม่น้ำไหลคดเคี้ยว โค้งตวัด หรือลัดทางเดิน จึงมีลักษณะเป็นหนอง บึงขนาดเล็กทั่วไป
ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
หนองหาน จังหวัดสกลนคร
ปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
กุดน้ำใส จังหวัดอุบลราชธานี

4. ข้อใด เป็นลักษณะพิเศษของภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งเกิดจาการกัดเซาะของน้ำ
ภูเขาโคดที่เกิดจากลาวาภูเขาไฟ
ภูเขาหินแกนิตยอดแหลมไม่สึกกร่อน
ภูเขายอดตัดหรือยอดป้านแบนราบคล้ายโต๊ะ
ด้านหนึ่งลาดเทเอียงด้านหนึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน

5. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพื้นที่ "ทุ่งกุลาร้องไห้" ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มต่ำรูปแอ่งกระทะหงาย ครอบครุมพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง
เป็นเขตป่าดิบเขาแหล่งต้นน้ำลำธาร
น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมในฤดูฝน
พื้นที่ชลประธานปลูกข้าวหอมมะลิได้ดี
ฤดูแล้งจะแห้งแล้งกันดารขาดแคลนน้ำ

6. ข้อสันนิษฐานของนักธรณีวิทยาเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือมีการสะสมตัวของแร่หินเกลือจำนวนมาก คือข้อใด
การยุบจมเป็นทะเลตื้นมีน้ำทะเลท่วมขังในอดีตกาล
เกิดภาวะโลกร้อนในอดีตทำให้ระดับน้ำทะเท่วมสูง
การไหลของน้ำใต้ดินทำให้เกิดการแพร่กระจายของดินเค็ม
การเคลื่อนไหวบีบอัดดันแร่หินเกลือขึ้นมาจากใจกลางเปลือกโลก

7. บริเวณขอบของที่ราบสูงโคราชเรียกว่า "ผาชัน" หรือ "ผาตั้ง" ทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึงข้อใด
เทือกเขาภูพาน
เทือกเขาสันกำแพง
เทือกเขาพนมดงรัก
เทือกเขาพชรบูรณ์และดงพยาเย็น

8. ภูมิลักษณ์แบบใดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากการกระทำของน้ำใต้ดินชะละลายแร่หินเกลือใต้ดินให้ย่อยสลายจนทำให้ดิน ยุบตัวหรือปูดโปนขึ้นมาเป็นเนิน
ภูมิลักษณ์แบบที่ราบน้ำท่วมถึง
ภูมิลักษณ์แบบโคกสลับแอ่ง
ภูมิลักษณ์แบบทะเลสาบรูปแอก
ภูมิลักษณ์แบบแอ่งก้นกระทะหงาย

9. ลักณะภูมิประเทศที่โดดเด่นและครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ"แอ่งโคราช" คือข้อใด
ทุ่งกุลาร้องไห้
ที่ราบลุ่มแม่น้ำสงคราม
ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ชี และสาขา
แอ่งที่ราบสลับกับภูเขาเตี้ย ๆ

10. แหล่งหินแกรนิตในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ของจังหวัดเลยมีความสำคัญทางด้านธรณีวิทยาอย่างไร
แหล่งแร่ที่สำคัญหลายชนิด
แหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์แปลกตา
เกิดการสึกกร่อนได้งายจนเกิดเทือกเขายอดตัด
ซากดึกดำบรรพ์(Fossil) ของสัตว์โลกล้านปี


ผลคะแนน =
เฉลยคำตอบ:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น